ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

6 ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับฟองน้ำในห้องครัว

 

ฟองน้ำในห้องครัว
ฟองน้ำในห้องครัวมีมาตั้งแต่ปี 1940 โดยทำมาจากสารสังเคราะห์ เนื่องจากมีความทนทาน และดูดซับน้ำได้ซึ่งทำให้เหมาะสมสำหรับทำความสะอาดพื้นผิวทุกประเภท เป็นไปได้ว่าคุณกำลังเข้าใจผิดทั้งหมด และนี่คือข้อผิดพลาดทั้งหมดที่คุณทำกับฟองน้ำ

6 ข้อผิดพลาดการใช้ฟองน้ำในห้องครัว

  1. เก็บฟองน้ำไว้นานเกินไป ลองถามตัวเองว่าคุณใช้ฟองน้ำนั้นนานกว่าหนึ่งสัปดาห์หรือไม่? ทางที่ดีควรโยนฟองน้ำหลังจากใช้งานไปประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะการเก็บมันไม่นานจนเกินไปมันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย และกลิ่น

  2. ทิ้งฟองน้ำไว้ในอ่างล้างจาน หลังจากล้างจานที่สกปรกเป็นจำนวนมากแล้ว การโยนฟองน้ำของคุณลงในอ่างล้างจานแล้วลืมไปจนกว่าจะถึงเวลาล้างจานครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะล้างภาชนะสำหรับทำอาหารเย็นอย่างระมัดระวังเพียงใด อ่างล้างจานของคุณก็เป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย และการทิ้งฟองน้ำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค ก็ถือเป็นความคิดที่ไม่ดี เพราะการทิ้งฟองน้ำไว้ในอ่างล้างจาน จะทำให้สภาพแวดล้อมที่ชื้นจึงทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สมบูรณ์ของเชื้อโรค

  3. เก็บฟองน้ำไม่ถูกต้อง คุณไม่ควรทิ้งฟองน้ำไว้ในอ่างล้างจาน เนื่องจากเหตุผลที่ว่าบริเวณอ้างล่างจานเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค แล้วจะวางฟองน้ำนั้นไว้ตรงไหนดี ให้วางฟองน้ำไว้ในตะกร้า หรือราวตากผ้าเพื่อทำให้มันแห้งเร็วขึ้น ซึ่งก็สะอาดมากยิ่งขึ้นด้วย

  4. คุณใช้ฟองน้ำสำหรับทุกสิ่ง หลีกเลี่ยงการใช้ฟองน้ำในครัวซับน้ำทุกๆ หยด ยิ่งคุณสัมผัสพื้นผิวด้วยฟองน้ำมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสเกิดการปนเปื้อนมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นควรใช้กระดาษ หรือผ้าเช็ดสิ่งสกปรกเหล่านั้นแทนมากกว่าการใช้ฟองน้ำ

  5. นำฟองน้ำไปฆ่าเชื้อโรคในไมโครเวฟ หลายๆคนคงเคยได้ยินว่ามีการแนะนำให้นำฟองน้ำไปใส่ในไมโครเวฟเพื่อฆ่าเชื้อโรคและถือว่าเป็นการทำความสะอาดฟองน้ำที่ใช้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดเพราะเชื้อโรคที่ติดอยู่กับฟองน้ำไม่สามารถถูกฆ่าให้หมดไปได้ ดังนั้นการเปลี่ยนฟองน้ำล้างจานจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมและแนะนำมากกว่า

  6. ไม่ได้ทำความสะอาดฟองน้ำระหว่างการใช้งาน หากคุณใช้ฟองน้ำเช็ดเคาน์เตอร์ ให้ทิ้งไว้ข้างอ่างล้างจานโดยไม่ล้างออก นั่นแสดงว่าคุณกำลังทำให้เกิดการเติบโตของแบคทีเรีย ดังนั้นเราจึงแนะนำว่าให้ทำความสะอาดฟองน้ำระหว่างการใช้งานด้วยสารฟอกขาวเจือจางหลังการใช้งานบ่อยๆ
อ่านต่อเรื่องบ้านเพิ่มเติม บ้าน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบบ้านสวนริมทุ่งนา มีลานนั่งชมทุ่งนาเขียวขจี

  คุณ สรัลรัศมิ์ วิตตินานนท์ ได้ทำการแชร์ไอเดีย แบบบ้าน สวนหลังเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยบ้านหลังนี้ประกอบไปด้วยอาคารห้องพักและชานกว้างนอกตัวบ้าน มีบรรยากาศร่มรื่นเนื่องด้วยตัวบ้านถูกขนาบข้างด้วยทุ่งนาและต้นไม้หลากหลายชนิด โดยจุดเด่นของบ้านหลังนี้จะอยู่ถัดออกมาจากตัวบ้าน  ตามใต้ต้นไม้แต่ละต้น เจ้าของบ้านก็จัดวางชุดโต๊ะและม้านั่งเอาไว้ ซึ่งชานบ้านกว้าง ๆ มุมนี้ เป็นลานเปิดโล่ง ที่มาพร้อมกับบาร์เล็ก ๆ เพื่อให้สามารถนั่งชมบรรยากาศร่มรื่นจากทุ่งนาได้นั่นเอง  ดูรูปแบบบ้านหลังนี้เพิ่มเติม  sanook.com/home/33661/

วิธีแช่แข็งถั่วงอก ให้เก็บอยู่ได้นานเป็นปี ไม่เหี่ยว

  ชวนมาดูวิธี แช่แข็งถั่วงอก  ในกรณีที่รับประทานไม่ทัน ให้สามารถเก็บถั่วงอกแช่แข็งเหล่านี้ไปประกอบอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นผัด ซุป และสลัด วิธีแช่แข็งถั่วงอก เตรียมอ่างน้ำแข็งไว้ล่วงหน้าจะช่วยป้องกันไม่ให้ถั่วงอกสุกเกินไป หากคุณไม่มีน้ำแข็งน้ำเย็นมากก็ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ล้างถั่วงอกให้สะอาดโดยวิธีการไหลผ่านน้ำเย็นจากนั้นนำทิชชูซับถั่วงอกให้แห้งเพื่อไม่ให้มันเปียก ก่อนจะลวกในน้ำเดือด 2-3 นาที เมื่อลวกเสร็จแล้วให้ย้ายถั่วงอกมาในอ่างน้ำแข็งที่เตรียมไว้ โดยค่อยๆ ช้อนถั่วงอกออกจากหม้อด้วยช้อนที่เจาะรูหรือตะแกรงก็ได้เช่นกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาทีหรือจนเย็นสนิท วิธีนี้จะหยุดการต้มถั่วงอกทันที ปล่อยให้นุ่มแต่กรุบ นำถั่วงอกออกจากน้ำเย็นจัด วางถั่วงอกบนผ้าขนหนูเป็นชั้นเดียวเพื่อให้แห้ง เกลี่ยถั่วงอกบนถาดแบนๆ หรือถาดสำหรับใช้อบขนม พยายามหลีกเลี่ยงการวางถั่วงอกทับกัน สามารถรองด้วยกระดาษไขเพื่อป้องกันถั่วงอกติดกับภาชนะ จากนั้นจึงนำไปแช่แข็ง แล้วจึงค่อยเช็กถั่วงอกหลังจากผ่านไปประมาณ 10 นาที แบ่งถั่วงอกลงในภาชนะพลาสติกที่มีฝาปิดแน่น หรือคุณสามารถใส่ลงในถุงแช่แข็ง โด

บ้านในฝันหลังเล็กริมแม่น้ำ เงียบสงบ หลบความวุ่นวาย

   สถาปนิก Ilikedesignstudio ได้ทำการออกแบบผลงาน  FARMSUP HOUSE   บ้านในฝัน สำหรับคนที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นบ้านของคุณ คุณศุภ – ศุภรัฐ ทิมจันทร์ และ คุณปู – ชลียา วามสิงห์ โดยการออกแบบบ้านหลังนี้จึงเน้นที่ความเรียบง่าย โปร่งสบาย สามารถสัมผัสกับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งรายละเอียดของการออกแบบบ้านหลังนี้นั้น จะเป็นทรงหน้าจั่ว จึงทำให้เพดานมีการยกสูง ทำให้ภายในบ้านจึงมีความปลอดโปร่ง อีกทั้งยังมี ไฮไลท์ของบ้านก็จะเป็นเฉลียงกว้างข้างบ้านที่ออกแบบโปร่งโล่ง ตั้งยื่นออกไปริมคูน้ำ ทำให้สามารถใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนได้  ดูรูปภาพบ้านในฝันหลังนี้เพิ่มเติม  sanook.com/home/31649/