ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สร้างบ้านตู้คอนเทนเนอร์แบบฉบับครบครันภายใน 9 ขั้นตอน

 

บ้านตู้คอนเทนเนอร์
แบบบ้านตู้คอนเทนเนอร์ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจอยากสร้างบ้านแบบกะทัดรัด คุณภาพเหล็กของตู้ก็มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้งบประมาณไม่สูงมากนัก 

9 ขั้นตอนสร้างบ้านตู้คอนเทนเนอร์

  1. ขออนุญาต และวางแผน 
    ก่อนจะสร้างบ้านจากตู้คอนเทนเนอร์นั้นจะต้องมีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งขออนุญาตเพื่อก่อสร้าง เช็คเรื่องตู้คอนเทนเนอร์ที่จะซื้อให้เรียบร้อย คุยกับสถาปนิกและวิศวกรให้เรียบร้อย  เพราะการสร้างบ้านจากตู้คอนเทนเนอร์มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการสร้างบ้านจากไม้ เหล็ก หรืออิฐ

  2. ซื้อตู้คอนเทนเนอร์ 
    การเลือกซื้อตู้คอนเทนเนอร์เพื่อมาสร้างบ้านคุณอาจต้องคิดถึงขนาด ประเภท และสภาพของคอนเทนเนอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน และการแบ่งพื้นที่ใช้สอยเมื่อคุณนำคอนเทนเนอร์มาเป็นบ้าน 

  3. เตรียมที่ดิน
    การเตรียมที่ดินคือการคิดถึงพื้นดินและประเภทของฐานรากที่คุณต้องการใช้สำหรับบ้านเพื่อให้สูงจากพื้น การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันความชื้นซึ่งอาจส่งผลต่อการผุกร่อนต่อไปในอนาคต

  4. วางตู้คอนเทนเนอร์
    วิธีที่ง่ายที่สุดในการวางตู้คอนเทนเนอร์บนฐานคือการใช้เครน และรถบรรทุกส่งของซึ่งทั้งสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

  5. ตัดช่องเพื่อทำช่องทางเปิด
    เมื่อจะนำตู้คอนเทนเนอร์มาทำบ้าน จะต้องมีการเปิดช่องทำประตู ดังนั้นควรมีการวางแผนและแบบแปลนที่ชัดเจนเพื่อให้ไม่เกิดข้อผิดพลาด

  6. เพิ่มประตู หน้าต่าง และโครง
    ข้อดีของการสร้างบ้านตู้คอนเทนเนอร์คือเมื่อจะเพิ่มประตู หน้าต่าง และพื้น คุณจะเลือกรูปแบบไหนก็แล้วแต่ความต้องการ สามารถทำได้ตามไลฟ์สไตล์และความชอบ

  7. ติดตั้งระบบไฟฟ้า และประปา
    การเดินสายไฟฟ้าตั้งแต่แรกนั้นง่ายและถูกกว่า นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องระบบประปา รวมไปถึงการพิจารณาติดตั้งเครื่องปรับอากาศ รวมไปถึงระบบแผงโซล่าเซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้า

  8. ฉนวนกันความร้อนและควบคุมอุณหภูมิ
    อย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาคือการติดฉนวนเพื่อป้องกันไม่ให้บ้านตู้คอนเทนเนอร์ร้อนมากจนเกินไป โดยที่คุณสามารถที่จะหุ้มฉนวนภายในหรือภายนอกบ้านก็ได้

  9. ตกแต่ง และจัดสวน
    เมื่อตัวบ้านดูดีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือองค์ประกอบของสวน  อาจพิจารณาเพิ่มดาดฟ้าที่สวยงามเพื่อขยายพื้นที่ใช้สอย หรือพื้นที่ภูมิทัศน์เพื่อให้แน่ใจว่าบ้านของคุณเข้ากับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ นอกจากนี้คุณอาจจะยังสามารถเริ่มทาสีภายใน ปูพื้น และทำให้บ้านจากตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ได้
สนับสนุนข้อมูลโดย sanook.com/home/34437/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบบ้านสวนริมทุ่งนา มีลานนั่งชมทุ่งนาเขียวขจี

  คุณ สรัลรัศมิ์ วิตตินานนท์ ได้ทำการแชร์ไอเดีย แบบบ้าน สวนหลังเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยบ้านหลังนี้ประกอบไปด้วยอาคารห้องพักและชานกว้างนอกตัวบ้าน มีบรรยากาศร่มรื่นเนื่องด้วยตัวบ้านถูกขนาบข้างด้วยทุ่งนาและต้นไม้หลากหลายชนิด โดยจุดเด่นของบ้านหลังนี้จะอยู่ถัดออกมาจากตัวบ้าน  ตามใต้ต้นไม้แต่ละต้น เจ้าของบ้านก็จัดวางชุดโต๊ะและม้านั่งเอาไว้ ซึ่งชานบ้านกว้าง ๆ มุมนี้ เป็นลานเปิดโล่ง ที่มาพร้อมกับบาร์เล็ก ๆ เพื่อให้สามารถนั่งชมบรรยากาศร่มรื่นจากทุ่งนาได้นั่นเอง  ดูรูปแบบบ้านหลังนี้เพิ่มเติม  sanook.com/home/33661/

วิธีแช่แข็งถั่วงอก ให้เก็บอยู่ได้นานเป็นปี ไม่เหี่ยว

  ชวนมาดูวิธี แช่แข็งถั่วงอก  ในกรณีที่รับประทานไม่ทัน ให้สามารถเก็บถั่วงอกแช่แข็งเหล่านี้ไปประกอบอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นผัด ซุป และสลัด วิธีแช่แข็งถั่วงอก เตรียมอ่างน้ำแข็งไว้ล่วงหน้าจะช่วยป้องกันไม่ให้ถั่วงอกสุกเกินไป หากคุณไม่มีน้ำแข็งน้ำเย็นมากก็ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ล้างถั่วงอกให้สะอาดโดยวิธีการไหลผ่านน้ำเย็นจากนั้นนำทิชชูซับถั่วงอกให้แห้งเพื่อไม่ให้มันเปียก ก่อนจะลวกในน้ำเดือด 2-3 นาที เมื่อลวกเสร็จแล้วให้ย้ายถั่วงอกมาในอ่างน้ำแข็งที่เตรียมไว้ โดยค่อยๆ ช้อนถั่วงอกออกจากหม้อด้วยช้อนที่เจาะรูหรือตะแกรงก็ได้เช่นกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาทีหรือจนเย็นสนิท วิธีนี้จะหยุดการต้มถั่วงอกทันที ปล่อยให้นุ่มแต่กรุบ นำถั่วงอกออกจากน้ำเย็นจัด วางถั่วงอกบนผ้าขนหนูเป็นชั้นเดียวเพื่อให้แห้ง เกลี่ยถั่วงอกบนถาดแบนๆ หรือถาดสำหรับใช้อบขนม พยายามหลีกเลี่ยงการวางถั่วงอกทับกัน สามารถรองด้วยกระดาษไขเพื่อป้องกันถั่วงอกติดกับภาชนะ จากนั้นจึงนำไปแช่แข็ง แล้วจึงค่อยเช็กถั่วงอกหลังจากผ่านไปประมาณ 10 นาที แบ่งถั่วงอกลงในภาชนะพลาสติกที่มีฝาปิดแน่น หรือคุณสามารถใส่ลงในถุงแช่แข็ง โด

บ้านในฝันหลังเล็กริมแม่น้ำ เงียบสงบ หลบความวุ่นวาย

   สถาปนิก Ilikedesignstudio ได้ทำการออกแบบผลงาน  FARMSUP HOUSE   บ้านในฝัน สำหรับคนที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นบ้านของคุณ คุณศุภ – ศุภรัฐ ทิมจันทร์ และ คุณปู – ชลียา วามสิงห์ โดยการออกแบบบ้านหลังนี้จึงเน้นที่ความเรียบง่าย โปร่งสบาย สามารถสัมผัสกับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งรายละเอียดของการออกแบบบ้านหลังนี้นั้น จะเป็นทรงหน้าจั่ว จึงทำให้เพดานมีการยกสูง ทำให้ภายในบ้านจึงมีความปลอดโปร่ง อีกทั้งยังมี ไฮไลท์ของบ้านก็จะเป็นเฉลียงกว้างข้างบ้านที่ออกแบบโปร่งโล่ง ตั้งยื่นออกไปริมคูน้ำ ทำให้สามารถใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนได้  ดูรูปภาพบ้านในฝันหลังนี้เพิ่มเติม  sanook.com/home/31649/