ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บ้านในฝันฉบับอัจฉริยะ Smart Home


บ้านอัจฉริยะ

บ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home บ้านในฝันของใครหลายๆคนเกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสุดทันสมัยมาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวก ส่วนใหญ่จะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ลักษณะอุปกรณ์ในบ้านอัจฉริยะ

เทคโนโลยีหลัก ๆ ที่ใช้ควบคุมการทำงานระบบอุปกรณ์ในบ้านอัจฉริยะก็คือ IoT แต่ลักษณะการทำงานของอุปกรณ์สามารถแบ่งได้เป็น

  • Control & Connectivity (อุปกรณ์สำหรับควบคุม)
 คืออุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆ ที่ทำงานภายใต้การควบคุมอีกที เป็นส่วนที่ทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ 
  • Smart Appliances (ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ) 

ซึ่งก็คือตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแทบจะทุกชนิดในบ้าน เช่น ทีวี ตู้เย็น พัดลม ราวตากผ้า เครื่องปรับอากาศ เตาอบ เครื่องล้างจาน สามารถควบคุมการทำงานและสั่งการได้ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

  • Security Devices (อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย)

 อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยภายในบ้าน เช่น กล้องวงจรปิด ประตู หน้าต่างอัตโนมัติ

  • Smart Sensor (เครื่องตรวจจับอัจฉริยะ) 

อุปกรณ์ที่ทำงานแบบอัตโนมัติโดยอาศัยเครื่องตรวจจับหรือเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เมื่ออุปกรณ์ตรวจพบว่ามีมนุษย์อยู่ในรัศมีถึงจะเปิดใช้งาน

  • Home Control​ (ระบบควบคุมอัจฉริยะ)

 เช่น ระบบไฟฟ้าภายในบ้านที่สามารถใช้งานได้แบบอัตโนมัติ ตรวจจับว่าไม่มีคนอยู่ก็ปิดการใช้งาน สามารถตั้งเวลาให้เปิด-ปิดการใช้งาน 

  • Home Monitoring (ระบบควบคุมสัญญาณระยะไกล)
 ระบบที่ควบคุมและตรวจสอบได้แม้จะอยู่ในระยะไกล เช่น กล้องวงจรปิด ที่เห็นความเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง

  • Smart Door Lock (ระบบล็อกประตูอัจฉริยะ) 

ระบบที่เกี่ยวกับการล็อกประตู หน้าต่าง โดยไม่ต้องใช้กุญแจที่สามารถปลอมแปลงหรืองัดเข้าไปได้ง่าย ๆ อาจจะเป็นการกดรหัส ใช้คีย์การ์ด อสแกนลายนิ้วมือ สแกนใบหน้า และจะแจ้งเตือนให้ทราบเมื่อมีความพยายามทำลายอุปกรณ์

  • Landscape Control (ระบบควบคุมภูมิทัศน์)

เช่น การสั่งงานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้รดน้ำต้นไม้ให้

  • Smart Speaker (ระบบการสั่งการด้วยเสียง)

 การที่สามารถทำงานได้ด้วยระบบสั่งการด้วยเสียง เราสามารถสั่งให้อุปกรณ์ทำงานลักษณะเดียวกับบอกให้ผู้ช่วยที่เป็นมนุษย์ทำ

  • Smart Mirror (กระจกอัจฉริยะ) 

มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลายเสมือนแท็บเล็ตขนาดใหญ่ เช่น แสดงเวลา แสดงอุณหภูมิ สภาพอากาศ บิลค่าใช้จ่าย เปิดเพลง เชื่อมบลูทูธคุยโทรศัพท์ อาจติดตั้งอยู่บริเวณโต๊ะเครื่องแป้งหรือ ห้องน้ำ เป็นต้น

อ่านต่อเพิ่มเติม https://www.sanook.com/home/32785/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบบ้านสวนริมทุ่งนา มีลานนั่งชมทุ่งนาเขียวขจี

  คุณ สรัลรัศมิ์ วิตตินานนท์ ได้ทำการแชร์ไอเดีย แบบบ้าน สวนหลังเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยบ้านหลังนี้ประกอบไปด้วยอาคารห้องพักและชานกว้างนอกตัวบ้าน มีบรรยากาศร่มรื่นเนื่องด้วยตัวบ้านถูกขนาบข้างด้วยทุ่งนาและต้นไม้หลากหลายชนิด โดยจุดเด่นของบ้านหลังนี้จะอยู่ถัดออกมาจากตัวบ้าน  ตามใต้ต้นไม้แต่ละต้น เจ้าของบ้านก็จัดวางชุดโต๊ะและม้านั่งเอาไว้ ซึ่งชานบ้านกว้าง ๆ มุมนี้ เป็นลานเปิดโล่ง ที่มาพร้อมกับบาร์เล็ก ๆ เพื่อให้สามารถนั่งชมบรรยากาศร่มรื่นจากทุ่งนาได้นั่นเอง  ดูรูปแบบบ้านหลังนี้เพิ่มเติม  sanook.com/home/33661/

วิธีแช่แข็งถั่วงอก ให้เก็บอยู่ได้นานเป็นปี ไม่เหี่ยว

  ชวนมาดูวิธี แช่แข็งถั่วงอก  ในกรณีที่รับประทานไม่ทัน ให้สามารถเก็บถั่วงอกแช่แข็งเหล่านี้ไปประกอบอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นผัด ซุป และสลัด วิธีแช่แข็งถั่วงอก เตรียมอ่างน้ำแข็งไว้ล่วงหน้าจะช่วยป้องกันไม่ให้ถั่วงอกสุกเกินไป หากคุณไม่มีน้ำแข็งน้ำเย็นมากก็ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ล้างถั่วงอกให้สะอาดโดยวิธีการไหลผ่านน้ำเย็นจากนั้นนำทิชชูซับถั่วงอกให้แห้งเพื่อไม่ให้มันเปียก ก่อนจะลวกในน้ำเดือด 2-3 นาที เมื่อลวกเสร็จแล้วให้ย้ายถั่วงอกมาในอ่างน้ำแข็งที่เตรียมไว้ โดยค่อยๆ ช้อนถั่วงอกออกจากหม้อด้วยช้อนที่เจาะรูหรือตะแกรงก็ได้เช่นกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาทีหรือจนเย็นสนิท วิธีนี้จะหยุดการต้มถั่วงอกทันที ปล่อยให้นุ่มแต่กรุบ นำถั่วงอกออกจากน้ำเย็นจัด วางถั่วงอกบนผ้าขนหนูเป็นชั้นเดียวเพื่อให้แห้ง เกลี่ยถั่วงอกบนถาดแบนๆ หรือถาดสำหรับใช้อบขนม พยายามหลีกเลี่ยงการวางถั่วงอกทับกัน สามารถรองด้วยกระดาษไขเพื่อป้องกันถั่วงอกติดกับภาชนะ จากนั้นจึงนำไปแช่แข็ง แล้วจึงค่อยเช็กถั่วงอกหลังจากผ่านไปประมาณ 10 นาที แบ่งถั่วงอกลงในภาชนะพลาสติกที่มีฝาปิดแน่น หรือคุณสามารถใส่ลงในถุงแช่แข็ง โด

บ้านในฝันหลังเล็กริมแม่น้ำ เงียบสงบ หลบความวุ่นวาย

   สถาปนิก Ilikedesignstudio ได้ทำการออกแบบผลงาน  FARMSUP HOUSE   บ้านในฝัน สำหรับคนที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นบ้านของคุณ คุณศุภ – ศุภรัฐ ทิมจันทร์ และ คุณปู – ชลียา วามสิงห์ โดยการออกแบบบ้านหลังนี้จึงเน้นที่ความเรียบง่าย โปร่งสบาย สามารถสัมผัสกับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งรายละเอียดของการออกแบบบ้านหลังนี้นั้น จะเป็นทรงหน้าจั่ว จึงทำให้เพดานมีการยกสูง ทำให้ภายในบ้านจึงมีความปลอดโปร่ง อีกทั้งยังมี ไฮไลท์ของบ้านก็จะเป็นเฉลียงกว้างข้างบ้านที่ออกแบบโปร่งโล่ง ตั้งยื่นออกไปริมคูน้ำ ทำให้สามารถใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนได้  ดูรูปภาพบ้านในฝันหลังนี้เพิ่มเติม  sanook.com/home/31649/